



ความเป็นมาของสำนวนไทย

สำนวนไทยนั้นมีมาตั้งแต่ก่อนสมัยพ่อขุนรามคำแหง
ถ้อยคําหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว
มีความหมายไม่ตรงตามตัวหรือมีความหมายอื่นแฝงอยู่ สันนิษฐานว่า สำนวนนั้นมีอยู่ในภาษาพูดก่อนที่จะมีภาษาเขียนเกิดขึ้นในสมัยสุโขทัย โดยเมื่อพิจารณาจากข้อความในศิลาจารึก พ่อขุนรามคำแหงแล้ว ก็พบว่ามีสำนวนไทยปรากฏเป็นหลักฐานอยู่ เช่น ไพร่ฟ้าหน้าใส หมายถึง ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข และสำนวนไทยคงเกิดมาจากมูลเหตุหลายประการด้วยกัน คือ
๑ เกิดจากธรรมชาติ เช่น
"ฝนตกไม่ทั่วฟ้า"
"น้ำซึมบ่อทราย"
"น้ำตาลใกล้มด"
"ข้าวคอยฝน" เป็นต้น
๒ เกิดจากการกระทำ เช่น
"ชุบมือเปิบ"
"ปิดทองหลังพระ"
"นอนตาไม่หลับ"
"ชักใบให้เรือเสีย"
"หาเช้ากินค่ำ"
๓ เกิดจากสัตว์ เช่น
"ปลากระดี่ได้น้ำ"
"เสือซ่อนเล็บ"
"หมาหยอกไก่"
"วัวแก่เคี้ยวหญ้าอ่อน"
๔ เกิดจากอวัยวะต่างๆ เช่น
"ตาเล็กตาน้อย"
"ตีนเท่าฝาหอย"
"ปากยังไม่สิ้นกลิ่นน้ำนม"
"มืออยู่ไม่สุข"
๕ เกิดจากของกินของใช้ เช่น
"ข้าวแดงแกงร้อน"
"ผ้าขี้ริ้วห่อทอง"
"บ้านเคยอยู่อู่เคยนอน"
"ลงเรือลำเดียวกัน"
๖ เกิดจากแบบแผนประเพณี เช่น
"ผีซ้ำด้ำพลอย"
"กงกำกงเกวียน"
"เข้าตามตรอกออกตามประตู"
"คนตายขายคนเป็น"
"ตื่นก่อนนอนหลัง"
๗ เกิดจากลักธิศาสนา เช่น
"ตักบาตรถามพระ"
"ทำคุณบูชาโทษ"
"กรวดน้ำคว่ำขัน"
"ขนทรายเข้าวัด"
"บุญทำกรรมแต่ง"
๘ เกิดจากนิทาน ตำนาน วรรณคดี พงศาวดาร และประวัติศาสตร์ เช่น
"กระต่ายหมายจันทร์"
"ฤษีแปลงสาร"
"ดอกพิกุลร่วง"
"ชักแม่น้ำทั้งห้า"
"กบเลือกนาย"
๙ เกิดจากการละเล่นกีฬาหรือการแข่งขัน เช่น
"ไก่รองบ่อน"
"งงเป็นไก่ตาแตก"
"ไม่ดูตาม้าตาเรือ"
"เข้าตาจน"
๑๐ เกิดจากความประพฤติ เช่น
"ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ"
"น้ำขึ้นให้รีบตัก"
"มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ"
"เถียงคำไม่ตกฟาก"
"ทำนาบนหลังคน"









